กด Like ให้กำลังใจบ้างนะครับ

 

ความรู้ Blu-ray,HD และอื่น ๆ

bit rate คืออะไรครับ
จำนวน bit ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยเวลา

ถ้าbit rateมาก จะทำให้ขนาดไฟล์ใหญ่ขึ้นใช่ไหมและไฟล์จะดีกว่าbitrateน้อยใช่ไหมครับ
ถูกและไม่ถูกครับ ขึ้นอยู่กับ format ที่คุณใช้งานด้วย

อนึงการดูว่าไฟล์ของเราที่โหลดไปจะมีความคมชัดเท่าใดมากแค่ไหนต้องดู Bit Rate Video เป็นอันดับแรกนะครับ

วีดีโอบิทเรทต่างๆนะครับ

1.) 128 – 384 kbit/s – คุณภาพระดับ วีดีโอบนอินเทอร์เนท
2.) 1.25 Mbit/s – คุณภาพระดับ VCD
3.) 5 Mbit/s – คุณภาพระดับ DVD
4.) 15 Mbit/s – คุณภาพระดับ HDTV
5.) 36 Mbit/s – คุณภาพระดับ HD DVD
6.) 54 Mbit/s – คุณภาพระดับ Blu-ray Disc
บิดยิ่งมากยิ่งคมชัดมากๆนะครับ

เช่นเรื่องนี้นะครับ

Video

ID : 1

Format : AVC

Format/Info : Advanced Video Codec

Format profile : High@L4.1

Format settings , CABAC : Yes

Format settings , ReFrames : 5 frames

Muxing mode : Container profile=Unknown@4.1

Codec ID : V_MPEG4/ISO/AVC

Duration : 1h 53mn

Bit rate : 10.4 Mbps

Nominal bit rate : 10.9 Mbps

Width : 1 920 pixels

Height : 800 pixels

Display aspect ratio : 2.400

Frame rate : 23.976 fps

Resolution : 24 bits

Colorimetry : 4:2:0

Scan type : Progressive

Bits/(Pixel*Frame) : 0.282

ส่วนFps จะสำหรับระบุเฟรมที่ออกมาในแต่ละนาที่
ปกติก็ไม่ควรต่ำกว่า 20 เพราะจะทำให้ภาพสั่นปวดตาได้ และหนังทัวไปอยู่ที่30/วิก็ดีมากแล้ว


ระบบเสียงแบบใหม่กับแผ่น Blu-ray Disc

หลายๆท่านอาจจะทราบว่าในปัจจุบันนี้ระบบ High definition กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่คงเข้าใจว่าระบบนี้มีเฉพาะที่เป็นสัญญาณภาพความละเอียดสูงเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีระบบเสียงที่เป็นแบบ High definition ด้วย!

ระบบเสียงแบบ High Definition นี้จะมาพร้อมกับแผ่น Blu-ray Disc เนื่องจากระบบใหม่นี้ไฟล์จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงต้องใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลมาก Blu-ray Disc จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับระบบเสียงนี้

Dolby & DTS กับยุคของ High definition

เมื่อพูดถึงระบบเสียงแบบใหม่นี้ แน่นอนว่า 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ในด้านการพัฒนาระบบเสียงรอบทิศทางจนเป็นที่ยอมรับกันโดยกว้างขวาง ต่างก็ไม่พลาดที่จะเข้ามาร่วมในการเปิดตลาดของระบบเสียงแบบ High definition นี้ด้วยเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ “Dolby” และ “DTS”

ระบบเสียง High definition จาก Dolby

ค่าย Dolby ได้พัฒนาระบบเสียงขึ้นมาใหม่ 2 ระบบเพื่อรองรับการเข้าสู่โลกของ High definition นั่นคือ “Dolby Digital Plus” และ “Dolby TrueHD”

แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึง Dolby TrueHD เพียงอย่างเดียว เพราะระบบนี้จะเป็นระบบเสียงหลักระบบหนึ่งในแผ่น Blu-ray disc

Dolby TrueHD เป็นระบบเสียงรอบทิศทางที่ไม่มีการสูญเสียของข้อมูลเลย นั่นหมายความว่าสัญญาณเสียงที่เรา ได้ยินจากระบบ Dolby TrueHD นั้นจะมีความเที่ยงตรงเหมือนกับที่บันทึก มาจากสตูดิโอเลยทีเดียว และยังสามารถ รองรับช่องสัญญาณเสียงได้สูงสุดถึง 8 channel โดยเมื่อเทียบกับระบบ เสียง Dolby Digital แบบเก่า Dolby TrueHD จะให้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นถึง 28* เท่าเลยทีเดียว

* วัดจาก Bit-rate โดย Dolby Digital จะให้ Bit-rate = 0.64 Mbps ขณะนี้ Dolby TrueHD ให้ Bit-rate = 18 Mbps)

ระบบเสียง High definition จาก DTS

เช่นเดียวกับ Dolby, ค่าย DTSได้พัฒนาะระบบเสียงแบบ High definition ขึ้นมา 2 รูปแบบเหมือนกัน นั่นคือ “DTS-HD High Resolution Audio” และ “DTS-HD Master Audio” ในที่นี้จะขอกล่าวถึง DTS-HD Master Audio เท่านั้น

DTS-HD Master Audio เป็นระบบเสียงรอบทิศทางที่ไม่มีการสูญเสียของข้อมูลคล้ายกับ Dolby TrueHD และรองรับช่องสัญญาณได้ถึง 8 channel เหมือนกัน แต่สิ่งที่ DTS-HD Master Audio มีเหนือกว่าก็คือ คุณภาพเสียงซึ่งสามารถให้ได้มากถึง 28 Mpbs

แต่ในด้านความนิยมหรือความหลากหลายของแผ่นซอฟแวร์ให้ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าทางบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ จะให้ความสำคัญกับ Dolby TrueHD มากกว่า ทำให้แผ่น Blu-ray disc ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมี Dolby TrueHD มาด้วย ในขณะนี้แผ่น Blu-ray Disc ที่มีระบบเสียง DTS-HD Master Audio ยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย

เช่น
Audio

ID : 2

Format : DTS

Format/Info : Digital Theater Systems

Codec ID : A_DTS

Duration : 1h 53mn

Bit rate mode : Constant

Bit rate : 1 536 Kbps

Channel(s) : 6 channels

Channel positions : Front: L C R , Surround: L R , LFE

Sampling rate : 48.0 KHz

Resolution : 24 bits

Title : English DTS 1509kbps

Language : English
เป็นคุณภาพแบบ DVD ครับ

ตารางเทียบอัตราBitrate เสียงขนาดต่างๆนะครับ/size]

ตารางเสียงบิทเรตต่างๆ
แบบที่บีบอีดข้อมูล และสูญเสียคุณภาพของสัญญาณแล้วมี 4 ตัวด้วยกันคือ

1.) Dolby Digital -0.64 Mbps (664Kbps) แบบที่ท่าน Princo13 ชี้แจงครับ คุณภาพระดับ DVD
2.) DTS -1.5 Mbps (1530Kbps) คุณภาพระดับ DVD
3.) Dolby Digital Plus -1.7 Mbps (1760Kbps) คุณถาพระดับ HDTV ตามช่องรายการ TV (เฉพาะต่างประเทศนะครับ)เช่น Japan
4.) DTS-HD HighResolution -6.0 Mbps (6000Kbps) คุณภาพระดับ HDTV 5.1

แบบบีบอีดข้อมูล แต่ไม่สูญเสียคุณภาพของสัญญาณมี 2 ตัวด้วยกันคือ

5.)Dolby(TRUE HD) -18.0 Mbps (18000Kbps) คุณภาพระดับ HD-DVD
6.)DTS-HD MasterAudio(DTS-HDMA) -24.5 Mbps (24500Kbps) คุณภาพระดับ BLURAY

แบบไม่บีบอีดข้อมูล และไม่สูญเสียคุณภาพของสัญญาณมี 1 ตัวด้วยกันคือ

7.)Linear PCM 28.0 Mbps (28000Kbps) คุณภาพระดับ MASTER-STUDIO


Credit by : Mr.Strack
===================================================================

มารู้จักระบบเสียงสำหรับ...... Home Theater

เดี๋ยวนี้ ระบบเสียงสำหรับ Home Theater ได้มีมาหลายแบบ หลาย ๆ ชื่อ เว็ปบางแห่ง ที่พูดถึงระบบ home theater นั้น ได้มามั่วซั่วเกี่ยวกับระบบเสียง เช่น การจะทำ pc ให้เป็น home theater นั้น ต้องมี process สำหรับถอดระบบเสียง THX, DTS, AC-3 ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว THX มันไม่ใช่ระบบเสียงซักกะนิดเดียว... จำไม่ได้แฮะ ว่าเว็ปไหน มันผ่านมานานแล้ว

1. MONO - ระบบเสียง Mono คือระบบเสียงที่มีช่องทางเสียง (channel) เพียงช่องเดียวเท่านั้น สำหรับการฟังระบบเสียง Mono จะใช้ลำโพงเพียงตัวเดียว (หรือจะมีมากกว่า 1 ตัว แต่ทุกตัว จะให้เสียงอันเดียวกันทั้งหมด)


2. STEREO - ระบบเสียง Stereo เป็นระบบเสียงที่ประกอบด้วยช่องทางเสียง 2 ช่อง สำหรับการฟัง จะต้องใช้ลำโพง 2 ตัว แต่ละตัว จะให้เสียงในแต่ละช่องทาง ระบบเสียง Stereo นี้ จุดฟัง ควรจะอยู่กึ่งกลางระหว่างลำโพง 2 ตัว เพื่อให้ได้มิติของเสียง หากอยู่ใกล้ลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป ความดังของลำโพง จะทำให้มิติของเสียงจากลำโพงอีกตัว หายไป
      สำหรับระบบ Stereo ในโรงหนัง จะประกอบด้วยช่องทางเสียง 3-4 ช่อง โดยมี 2 ช่อง เป็นสัญญาณเสียงซ้ายขวา และมีสัญญาณเสียง effect อยู่ด้านหลัง (surround) และมีสัญญาณเสียงบทพูด (dialogue) อยู่ด้านหน้า เพื่อดึงความสนใจ ให้อยู่บริเวณจอภาพ
      แต่สำหรับระบบ Stereo บนแผ่นเสียง หรือบนเทป จะมีแค่ 2 ช่องทาง เนื่องจากสื่อสามารถเก็บช่องทางเสียงได้แค่นั้น


3. QUADRAPHONIC STEREO - เป็นระบบเสียงที่ไม่ค่อยรู้จักกันนัก เป็นการ encode เสียง 4 ช่องทาง โดยเสียง 2 ช่องทางที่เพิ่มมาจากระบบ Stereo นั้น เป็นช่องทางเสียงสำหรับลำโพง 2 ตัว ที่จะวางไว้ด้านหลัง อย่างไรก็ตาม ระบบเสียง Quadraphonic นี้ ก็ไม่สามารถหามาตรฐานสำหรับการผลิตได้ ทำให้ไม่มีใครผลิตสื่อในระบบเสียงนี้ออกมา


4. DOLBY STEREO - ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1976 โดยพัฒนามาจากระบบ Stereo สำหรับโรงหนัง ทำให้สามารถ "เพิ่ม" ช่องทางเสียงได้อีก 2 ช่อง ร่วมเข้าไปกับช่องเสียง 2 ช่องเดิม (คือเป็นการรวมช่องเสียง Surround และ Dialogue เข้าไปไว้ในระบบ Stereo) ในการฟังระบบเสียงนี้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการถอดระหัสแยกเสียง ให้เป็น 4 ช่องทาง
สิ่งที่พัฒนาขึ้นใน Dolby Stereo คือ การรวมสัญญาณเสียง 4 ช่องทาง ให้เหลือ 2 ช่องทาง และการพัฒนาระบบ encode/decode สัญญาณเสียง รวมไปถึง เทคนิคในการลดเสียงรบกวน (Noise Reduction)


5. DOLBY SURROUND - ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1982 ในฐานะของระบบเสียง 3 ช่องทาง สำหรับการดูในบ้าน โดย 3 ช่องทางประกอบด้วย หน้าซ้าย (FrontLeft) หน้าขวา (FrontRight) และ Surround แม้ว่าช่องเสียง Surround จะใช้ลำโพง 2 ตัวก็ตาม แต่สัญญาณเสียง Surround จะเป็นระบบ Mono ที่ความถี่ 100Hz-7,000Hz แทรกอยู่ในสัญญาณ FL และ FR
การรับฟังระบบเสียง Dolby Surround จำเป็นต้องมีเครื่อง Three Channel Surround Processor โดยระบบเสียงนี้ จะมีเฉพาะในสื่อสำหรับเล่นตามบ้านเท่านั้น เช่น VHS


6. DOLBY SURROUND PRO-LOGIC - ระบบนี้ คือระบบ Dolby Surround ที่เพิ่มเทคนิคที่เรียกว่า Pro-Logic เข้าไป ระบบนี้ ใช้กับเครื่อง Dolby Pro-Logic Decoder ทำให้สามารถแยกสัญญาณ analog 4 ช่องทาง ออกมาจากระบบ Dolby Stereo หรือ Dolby Surround ได้
นอกจากแยกช่องทางเสียงออกมาแล้ว เทคนิค Pro-Logic ยังได้เพิ่มความสามารถในการใส่ช่องเสียง Center และยังสามารถสร้างช่องทางเสียง Surround ให้กับเสียงต้นฉบับที่เป็น Stereo ธรรมดาได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม สัญญาณเสียง จากช่อง surround ยังคงเป็นสัญญาณระบบ Mono ที่ความถี่ 100Hz-7,000Hz เท่านั้น


7. DOLBY DIGITAL (AC-3) - ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1992 เป็นระบบเสียง Digital สำหรับโรงหนัง โดยระบบเสียงนี้ จะประกอบด้วยสัญญาณเสียง digital ทั้งหมด 6 ช่องทางแยกขาดจากกัน มี 5 ช่องทางสำหรับลำโพง 5 ตัว และช่องที่ 6 สำหรับสัญญาณเสียงต่ำ เพื่อใช้กับ Sub-Woofer
             เราเรียกช่องทางเสียงนี้ว่า 5.1 Channel หรือ AC-3 (Audio Coding 3rd Generation) ข้อดีของระบบเสียงแบบ digital คือ จะใช้เนื้อที่ในการบันทึก น้อยกว่าระบบอื่น ๆ ทำให้สามารถเพิ่มช่องเสียงได้มากขึ้น  (เช่น ช่องทาง Surround จากเดิมเป็นแค่ Mono 100Hz-7,000Hz สามารถทำเป็น Hi-Fi Stereo ได้ และมีช่อง LFE Low Frequency Effects ที่ความถี่ 20Hz-120Hz เพิ่มขึ้นมา)


8. DOLBY DIGITAL SURROUND-EX - ระบบเสียง ที่พัฒนามาจาก Dolby Digital 5.1 เป็นการพัฒนาร่วมกัน ระหว่าง Dolby Laboratories และ Lucasfilm เพิ่มช่องทางเสียง Surround โดยการทำ Matrixed Combination จากสัญญาณ Surround 2 ช่องทางเดิม ที่มีใน Dolby Digital 5.1 (หรือในทางปฎิบัติ ก็คือการนำเอาลำโพง surround-left และ surround-right มาวางตำแหน่งไว้ในด้านข้าง และเพิ่มลำโพง surround-back อีกตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ไว้ทางด้านหลัง)
ระบบเสียงนี้ ทำให้การเคลื่อนตัวของเสียง จากด้านหน้า มาด้านข้าง และอ้อมหลังผู้ฟัง มีการต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
ระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX นี้ เมื่อเข้ามาเป็นระบบเสียงสำหรับฟังในบ้าน จะใช้ชื่อว่า THX Surround-EX
และเนื่องจาก ระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX นี้ ถอดสัญญาณ surround-back ที่ถูกฝังมาในสัญญาณ surround-left surround-right ในระบบเสียง Dolby Digital 5.1 ดังนั้น เครื่อง decoder ที่ไม่มีระบบ EX ก็จะเห็นระบบเสียงนี้ เป็น Dolby Digital 5.1 ธรรมดาเท่านั้น


9. DIGITAL THEATER SYSTEMS (DTS) - ระบบเสียง DTS เริ่มเข้ามามีบทบาท เป็นระบบเสียงสำหรับโรงหนัง ในปี 1995 ประกอบด้วสัญญาณเสียงแบบ digital 5.1ช่องทาง (เหมือน Dolby Digital) แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ การบีบอัดข้อมูลของสัญญาณ digital โดย Dolby Digital จะบีบอัดสัญญาณเสียงที่สัดส่วนคงที่ คือ 12:1 แต่ DTS จะใช้การบีบอัดแบบไม่คงตัว ในสัดส่วนตั้งแต่ 1:1 ถึง 40:1 ทำให้คงรายละเอียดของเสียง ในส่วนที่มีเสียงมาก ๆ ได้ดีกว่า และไปลดขนาด ในช่วงที่ไม่ค่อยมีเสียงประกอบอะไร ทำให้เสียงที่อกมา มีความสะอาดกว่าในระบบ Dolby Digital
              อย่างไรก็ตาม ระบบเสียง DTS นี้ ไม่ได้รับความนิยมสำหรับการรับฟังในบ้าน เนื่องจาก ในทางปฎิบัตินั้น ข้อมูล digital ของสัญญาณเสียง DTS จะใช้เนื้อที่มากกว่าของระบบ Dolby Digital ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บระบบเสียง analog รวมเข้าไปไว้ได้ (ในกรณีไม่มีเครื่อง DTS Decoder) แต่ปัญหานี้ก็มีเฉพาะใน LaserDisc เท่านั้น ไม่มีผลกับ DVD
ระบบเสียง DTS ยังแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ประเภท ได้แก่
      DTS 5.1 Digital Surround - ประกอบด้วยสัญญาณคู่หน้า (FL/FR) คู่หลัง (RL/RR) กลาง (Center) และ Sub
      DTS Stereo 2.0 - คล้าย ๆ กับ Dolby Surround คือเป็นสัญญาณเสียง Stereo ที่มีการผสม (matrixed) สัญญาณสำหรับ Center และ Surround เอาไว้ สามารถนำมาเล่นได้กับอุปกรณ์ Dolby Pro-Logic
      DTS Mono 1.0 - สัญญาณช่องเดียว เดี่ยว ๆ ไม่มีลุกเล่นอะไร


10. DTS-ES - ระบบเสียง DTS ที่ใช้เทคโนโลยีจาก Dolby Laboratories และมีพื้นฐานมาจากระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX ระบบเสียง DTS-ES นี้ มีการเพิ่มช่องสัญญาณ rear surround (หรือ surround-back) สำหรับลำโพงตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป วางไว้ในตำแหน่งด้านหลัง และลำโพง surround-left surround-right จะย้ายมาอยู่ด้านข้างแทน (เหมือนกับระบบ Dolby Digital Surround-EX เป๊ะ)
      ช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้นมา จะถูก matrixed เข้ากับช่องสัญญาณ surround-left surround-right ทำให้สามารถ วางตำแหน่งเสียงรอบ ๆ ตัวผู้ฟังได้ถูกต้องขึ้น ในการรับฟังระบบเสียงนี้ จะต้องอาศัยเครื่อง DTS-ES Decoder ซึ่งหากไม่มี ก็ยังสามารถรับฟังได้กับเครื่อง DTS Decoder ซึ่งจะได้เสียง 5.1 ช่องเสียงเท่านั้น (สรุปก็คือ มันก็ลอก Dolby Digital Surround-EX มาทั้งดุ้น เพียงแต่การบีบอัดสัญญาณ ยังเป็นแบบ DTS เท่านั้น)


11. SONY DYNAMIC DIGITAL SOUND (SDDS) - ระบบเสียง SDDS นี้ สามารถรับฟังได้ เฉพาะกับโรงหนังเท่านั้น เนื่องจากระบบเสียงสำหรับฟังตามบ้าน ถูกครองโดย Dolby Digital 5.1 และ DTS ไปหมดแล้ว
ระบบเสียง SDDS นี้ ประกอบด้วยสัญญาณเสียง 8 ช่องเสียง (หรือ 7.1) โดยเน้นหนักที่ลำโพงชุดหน้า ในการสร้างมิติเสียง ตามที่ภาพปรากฎบนจอ สำหรับโรงหนังขนาดใหญ่ ประกอบด้วยช่องเสียง หน้า 5 ช่อง (Left, Center-Left, Center, Center-Right, Right) และหลัง 2 ช่อง (Surround-Left, Surround Right) กับอีก 1 ช่องเสียงสำหรับ Sub-Woofer


12. THX SOUND SYSTEM - สำหรับ THX นี้ ไม่ใช่ระบบเสียง (หลาย ๆ คนเข้าใจผิด) ระบบ THX นี้ พัฒนาโดย Lucasfilm ย่อมาจาก Tomlinson holman's eXperiment ใช้เพื่อเป็นการกำหนดมาตรฐาน สำหรับอุปกรณ์การดูหนัง
ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของระบบ THX เนื่องจาก เสียงที่ผู้ฟังรับฟังในโรงหนังต่าง ๆ กัน ที่ใช้อุปกรณ์โสตคนละชนิดกัน ทำให้เสียงที่ได้ออกมาแตกต่างกัน ซึ่งหากได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ ในแต่ละโรง จะทำให้ การรับชม/รับฟังภาพยนตร์ในแต่ละโรง มีความแตกต่างกันน้อยมาก และทำให้ผู้ฟัง ได้รับฟังเสียง ที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมาที่สุด ตราบเท่าที่ อุปกรณ์ต่าง ๆ ยังได้รับการยอมรับตามมาตรฐาน THX
      THX นี้ ไม่ใช่ระบบเสียง เหมือนอย่าง Dolby Digital หรือ DTS แต่ THX เป็นตัวกลาง ที่อยู่ทั้ง Dolby Digital และ DTS เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ฟัง ได้รับฟังเสียงที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะฟังเสียงในระบบไหน
สำหรับอุปกรณ์ที่จะได้รับการยอมรับ ตามมาตรฐาน THX นั้น ต้องผ่านการทดสอบ ตั้งแต่ชนิดของวัสดุที่ใช้ ชนิดของหม้อแปลง สัญญาณเสียงรบกวนภายใน ดังนั้น อุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน THX จะถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง



บทความโดยคุณ
Nimit(Un)@LSVคลังสมองออนไลน์      เมื่อ: มิถุนายน 27, 2007, 03:25:23 pm





Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...